วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560



พี่เบิ้มมาแล้ว! 10 สายพันธุ์สุนัข ที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก






เชื่อว่าหลายคนคงมีภาพความประทับใจ เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ ความน่ารัก และความฉลาดแสนรู้ ของเจ้าตูบตัวน้อยกันมาบ้างใช่ไหม เอ่อ…แต่จริงๆแล้วเจ้าตูบบางตัวนี่ก็ ตัวไม่ได้น้อยเลยสักกะนิดเลยนะ! (แม้ว่าบางทีเขาจะคิดว่าเขาตัวเล็กมากก็ตามเถอะ!) วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ 10 พี่เบิ้ม สุนัขตัวใหญ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกัน ว่าแต่ตัวใหญ่แล้วจะขาโหดไหม? อันนี้ต้องมาดู

1. ลีออนเบอร์เกอร์

1. ลีออนเบอร์เกอร์

พี่ใหญ่อย่าง ลีออนเบอร์เกอร์ นี้ นอกจากความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับมนุษย์แล้ว ด้วยขนาดความสูงกว่า 80 เซนติเมตร ยังเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาช่วยงานทางทหาร ถึงแม้ว่าจะดูโหดขนาดนี้แต่ความจริงแล้ว สุนัขสายพันธุ์นี้มีความเป็นมิตรกับเจ้าของ และครอบครัวแบบสุดๆ
สุนัขตัวใหญ่





ลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger)


   สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ของประเทศเยอรมันเหมาะสำหรับคนที่ชอบสุนัขพันธุ์ใหญ่ๆครับ และชื่อลีออนเบอร์เกอร์ นี้ก็ได้มาจากการตั้งชื่อตามชื่อ เมือง Leonburg  ที่มี ลักษณะของเมืองเหมือน สิงโตบนยอดทาวเวอร์

ประวัติ สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger)


   บรรพบุรุษ ของ สายพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ นี้เกิดจาก สายพันธุ์สุนัขเซนต์เบอร์นาร์ด และ นิวฟินด์แลนด์ ครั้งแรกที่ลงทะเบียนสุนัข มีชื่อ Leonberger ปรากฏในปี 1840 และ ถูกนำมาใช้งาน อย่างเช่น เป็นสุนัขในฟาร์ม  ที่สามารถ ทนต่ออุณหภูมิที่ หนาวเย็นของภูเขาสูง ลักษณะเหมือนสิงโตอยู่บนยอดเขา ก็อาจจะเป็น เรื่องของตำนาน อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ กลายเป็นที่นิยมได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการ แข็งแรง ทนต่ออุณภูมิที่หนาวเย็นของธรรมชาติ สุนัขเฝ้าบ้าน สามารถดึง รถลาก และการทำงาน ทั่วไป
   ที่น่าสนใจ ที่ได้เชื้อสายมาจากสุนัข นิวฟันด์แลนด์ สายพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์เป็นนักว่ายน้ำ ที่ดี และมีการใช้ประโยชน์จากการว่ายน้ำที่เก่งของเค้า โดยมีประเทศ อิตาลี และแคนาดา และประเทศอื่นๆ ใช้สุนัขสายพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ เป็นสุนัขช่วยชีวิตคนในทะเล

ลักษณะ สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger)
ความสูง เฉลี่ย : เพศผู้สูงได้ถึง 29-30 นิ้ว กับเพศเมียสูงได้ถึง 27 นิ้ว
น้ำหนัก เฉลี่ย : 54 - 77kg สำหรับเพศผู้ และ 45 - 60 กิโลกรัม สำหรับเมีย
   สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger)เป็นสุนัขที่ใหญ่ หนัก แต่ไม่ ใหญ่เกินไป ที่น่าประทับใจคือ ความแข็งแรง ความแข็งแกร่ง กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง สุนัขตัวนี้ มีหน้าอกลึก มีหัวใจและปอดใหญ่ เพื่อให้มัน ทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเหนื่อย หัวมีขนาดใหญ่ สายพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ นี้อยู่ในสัดส่วนรูปร่างที่สมบูรณ์แบบและ ใบหน้าที่มักจะถูกปกคลุมด้วยหน้ากาก สีดำ ตา สีเข้ม จมูก สีดำขนาดใหญ่ 

   สำหรับ ขนาดของสุนัขลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger) เป็นสุนัข ที่ขาหลัง และสะโพก สง่างาม  หางมีความยาวมาก และ ขาหลัง ขนหนาเป็นสองเท่า และทนน้ำและสามารถทนต่อความหนาวเย็นมากและอุณหภูมิที่ติดลบ ตัวผู้จะมีขนเป็นสร้อยรอบคอ และหน้าอก เหมือนสิงโต ขนหนาเป็นสีทราย สีเหลือง เป็น สีน้ำตาล แดง ตามปกติ 

อารมณ์ สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger)
   สุนัขลีออนเบอร์เกอร์เป็นสุนัขที่ แข็งแรง ซื่อสัตย์ ปลอดภัย ถือว่าสัตว์เลี้ยงของครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ เป็นเพื่อนกับคนในครอบครัว และมีความอดทนกับเด็กและ สัตว์อื่น ๆ พวกเขาจะ มีระเบียบวินัย alert , ฉลาด, ซื่อสัตย์และ มีน้ำใจ และมีความสามารถของความจงรักภักดี มาก เป็นสุนัขที่ปรับตัวอยู่ที่บ้าน ในสภาพแวดล้อมที่ดีมาก แต่ เนื่องจาก ขนาดที่แท้จริง ของมันจะเหมาะกับบ้านที่สามารถรองรับขนาดตัวใหญ่พิเศษ! ของมันได้ สุนัขลีออนเบอร์เกอร์สามารถนอนได้ตลอดทั้งวัน ในกรณีปกติ มันจะรักอะไรไปมากกว่านี้ไม่ได้แล้วนอกเสียจากเตียงนอนที่แสนสบายของมันและครอบครัวที่รักมัน
   มันเป็นเรื่องง่าย ในการฝึกอบรม และในขณะที่ มันอาจจะดื้อ ซน โดยทั่วไป สุนัขลีออนเบอร์เกอร์นี้ ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่านี้นอกจาก ความรักจากครอบครัว 

สุขภาพ สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger)
   สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ ขนาดใหญ่ มีอายุขัยสั้นกว่า สุนัขสายพันธุ์ที่ มีขนาดเล็ก อื่น ๆ โดยเฉลี่ยอายุของสุนัขสายพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์อยู่ที่ 8 ปี สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ มีแนวโน้มที่จะ เกิดโรคมะเร็งมากกว่า สุนัขสายพันธุ์ อื่น ๆ ข้อควรระวังมากที่สุดคือการหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักๆ เพราะสุนัขลีออนเบอร์เกอร์มีขนาดตัวที่ใหญ่ เมื่อกินอาหารเข้าไปเยอะๆ จะมีก๊าซเยอะทำให้ร่างกายขยายและเป็นอันตรายถึงชีวิต ที่ควรทำคือ กินอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ ขึ้น ให้กินน้ำบนขาตั้งที่จะยกระดับความสูงของ หัวในขณะที่ดื่ม และควรการออกกำลังกายอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร

การดูแล สุนัขลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger)
   เจ้าของสุนัขสายพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ ที่มีขนาดใหญ่ นี้จะต้องมีการเตรียมไว้สำหรับ ค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น  ค่าใช้จ่ายของสัตว์แพทย์ เพิ่มขึ้น การประกันและ ค่าใช้จ่าย อาหาร , ชาม ขนาดใหญ่ และเตียง ซึ่งมักจะ เสียค่าใช้จ่าย เงินมากขึ้น อย่า พิจารณารับ สายพันธุ์นี้ จนกว่าคุณจะมี วิธีการที่จะ มุ่งมั่นที่จะ ตอบสนองความต้องการ ของตนเองและต้องอาบน้ำตัดขนเป็นประจำ ที่จะช่วยให้รักษาสุขภาพของสุนัข สำหรับฤดูร้อนถ้าเป็นบ้านเราก็ควรอยู่ในห้องแอร์ และให้น้ำบ่อยๆ หรือ ให้เล่นน้ำ

2.ไอริช วูล์ฟฮาวด์

2.ไอริช วูล์ฟฮาวด์

เจ้าไอริช วูล์ฟฮาวด์ นี้มีถิ่นกำเนิดมาจากไอร์แลนด์ เป็นสุนัขสายพันธุ์เก่าแก่ที่สามารถสืบย้อนต้นตระกูลไปได้ถึง 2,000 ปี ส่วนมากแล้วจะถูกใช้ในเกมการล่าโดยเฉพาะ สามารถสูงได้ถึง 78 เซนติเมตร ที่ระดับหัวไหล่ และหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม เลยทีเดียว
สุนัขตัวใหญ่








         มีถิ่นกำเนิดมาจากไอร์แลนด์ เป็นเผ่าพันธุ์ที่มีความเก่าแก่มากสามารถสืบย้อนไปได้ถึง 2,000 ปี ไอริช วูล์ฟฮาวด์ขึ้นชื่อเรื่องความสูง โดยจะมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 90 ซม.เมื่อวัดที่ไหล่ แต่จะหนักน้อยกว่าอิงลิช มาสทิฟฟ์ เพราะไม่อ้วนเท่าน่นเอง



     ไอริช วูล์ฟฮาวด์เป็นสุนัขที่โตเร็วมาก ลูกสุนัขอายุ 10 สัปดาห์จะสูงขึ้นถึงสัปดาห์ละ 2.5 ซม. และหนักขึ้นได้ถึงวันละ 0.5 กิโลกรัม แต่ก็น่าเศร้าที่อายุสั้นด้วย โดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 5 – 8 ปี โดยมีปัญหาหลักๆคือมักจะเป็นโรคหัวใจโตและมะเร็งกระดูก โรคที่พบบ่อยรองลงมาคือแก็สในกระเพาะอาหารและโรคตับ 


    อีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ไอริช วูล์ฟฮาว์ดป่วยและเสียชีวิตคือคนเลี้ยง เนื่องจากมันโตเร็วมาก เมื่ออายุได้ 8 เดือน สุนัขพันธ์นี้ก็ดูเหมือนจะโตเต็มที่แล้ว คนเลี้ยงจึงเริ่มฝึกฝนมันอย่างหนัก ทั้งที่จริงแล้ว การฝึกควรจะเริ่มต้นเมื่อมันอายุได้ 1 ปีครึ่ง รวมถึงอาหารที่มันกินด้วย ผู้วชาญกล่าวว่าควรจะรอให้มันอายุถึง 1 ปีครึ่งก่อนค่อยเป็นเป็นอาหารสำหรับสุนัขโต (หลักๆแล้วที่เปลี่ยนเพราะต้องการให้มันตัวใหญ่ และเชื่อว่าอาหารสุนัขโตมีสารอาหารมากกว่า) 
ทั้งที่จริงแล้ว การกินอาหารลูกสุนัขก็ทำให้มันโตได้ในระดับเดียวกัน ในอัตราที่ช้ากว่าเล็กน้อย และปลอดภัยกว่า 






น่ารักเหมือนกันนะเนี่ยะ

3. อิงลิช มาสทิฟฟ์

3. อิงลิช มาสทิฟฟ์

ด้วยใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยย่น รอยยับ น้ำลายย้อย ของเจ้าอิงลิช มาสทิฟฟ์ ซึ่งอาจทำให้หลายคนแอบหวั่นๆ แต่ความจริงแล้วเจ้านี่ คือ ยักษ์ใหญ่ใจดี มีความกล้าหาญ ที่มาพร้อมกับส่วนสูง 75 เซนติเมตร และอาจหนักได้ถึง 127 กิโลกรัม เห็นขนาดตัวแล้วบอกเลยว่าไม่กลัว…แต่เกรงใจ
สุนัขตัวใหญ่









          หมากระเป๋า ที่สุดแสนจะน่ารักนั้นมีไว้เชยชม พาไปเที่ยวไหนต่อไหนอวดใคร ๆ ได้ก็จริงอยู่ แต่เจ้าหมาตัวโต ๆ ก็น่ากอดน่าฟัด แถมยังเล่นด้วยกัน มันส์สุด ๆ และถ้าให้นึกถึงเจ้าตูบพันธุ์ใหญ่ ๆ เชื่อว่าอันดับต้น ๆ หลายคนคงนึกถึง สุนัขนักบุญยอดฮิตอย่าง เซนต์เบอร์นาร์ด...กันใช่ม๊าา

          แต่เจ้าตูบที่นำมาให้รู้จักกันวันนี้ เป็นสุนัขอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีไซส์บิ๊กบึ้มเอามาก ๆ เรียกได้ว่า อภิมหึมามหาสุนัข เลยก็ว่าได้  เพราะมันเคยได้รับการบันทึกว่ามีน้ำหนักมากที่สุดในโลกมาแล้ว.... และนั่นก็คือ สุนัขพันธุ์ english mastiff (อิงลิช มาสทิฟฟ์) สุนัขสายพันธุ์เก่าแก่แห่งเกาะอังกฤษ

          สำหรับประวัติของ อิงลิช มาสทิฟฟ์ เชื่อกันว่า ถูกนำไปที่เกาะบริเตนเมื่อศตวรรษที่ 6 โดยจุดประสงค์หลักเพื่อเอามาใช้ในกีฬาต่อสู้สัตว์ มีทั้งกัดกันเอง ให้ล้มกระทิง ล้มหมี หรือแม้กระทั่งล้มสิงโตก็มี แต่สุนัข อิงลิช มาสทิฟฟ์ ในปัจจุบัน กล่าวกันว่าเป็นลูกหลานของสุนัขตัวหนึ่งของขุนนางอังกฤษที่ชื่อ “เซอร์ เพียร์ เลกห์” ที่เจ้าสุนัขตัวนี้คอยเฝ้าปกป้องเจ้านายที่บาดเจ็บในสงครามนานหลายชั่วโมง จนกระทั่งขุนนางคนนั้นเสียชีวิต และมาสทิฟฟ์ตัวนั้นก็ได้กลับบ้านและเป็นพ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความกล้าหาญ



          ลักษณะโดยทั่วไปของ อิงลิช มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขขนาดใหญ่มาก เมื่อตัวโตเต็มวัยจะสูงได้ถึง 70 – 76 เซนติเมตร และหนักได้เกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งหนังสือกินเนสส์บุ๊ค เคยบันทึกเอาไว้ว่า เจ้าซอร์บา สุนัขพันธุ์ อิงลิช มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขที่หนักที่สุดในโลก โดยมีความสูงถึง 94 เซนติเมตร วัดถึงบ่า และยาว 2.5 เมตร วัดจากจมูกถึงปลายหาง น้ำหนัก 142 กิโลกรัม

          ทั้งนี้ สุนัขพันธุ์ อิงลิช มาสทิฟฟ์ จะมีอายุเฉลี่ยค่อนข้างสั้นราว 9 – 11 ปี เพราะความใหญ่โตของร่างกายมักจะทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ง่ายเหมือนสุนัขพันธ์ใหญ่อื่น ๆ คือ ปัญหาสะโพก เพราะน้ำหนักเยอะ และปัญหาท้องอืด เพราะแก๊สในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ก็ยังพบว่ามันมีปัญหาโรคอ้วนและมะเร็งกระดูก อีกด้วย
 
          อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ อิงลิช มาสทิฟฟ์ มีทั้งความใหญ่โต สง่าผ่าเผย และความกล้าหาญ ทว่าคุณสมบัติเด่นชัดที่สุดของมันก็คือ การปกป้อง เมื่อมีคนไม่รู้จักเข้ามาใกล้อาณาเขตหรือเจ้านายของมัน อิงลิช มาสทิฟฟ์ มักจะแสดงความปกป้องด้วยการยืนประจันหน้าขวางระหว่างตัวเจ้านาย หรืออาณาเขต กับคนแปลกหน้าที่ย่างกรายเข้ามา จึงไม่แปลกเลยที่ อิงลิช มาสทิฟฟ์ ถูกจัดเป็นหนึ่งในสุนัขเฝ้ายามที่ดีที่สุดพันธุ์หนึ่ง 

          นอกจากนิสัยกล้าหาญและปกป้องแล้ว อิงลิช มาสทิฟฟ์ ยังมีนิสัยง่าย ๆ ใจเย็น และสุภาพ เข้ากับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น บ้านไหนที่มีเด็ก ๆ ก็ไม่ต้องหวั่นใจว่ามันจะแง่มลูกหลานของเรา เพียงแต่ อิงลิช มาสทิฟฟ์ ต้องได้รับการฝึกอย่างจริงจัง เพราะเจ้าหมายักษ์พันธุ์นี้ ในยามที่มันดีใจและกระโจนเข้าใส่ แม้ว่าจะเป็นผู้ใหญ่คงล้มหน้าคว่ำเจ็บตัวเอาได้ง่าย ๆ 

          และหากใครที่สนใจจะเลี้ยงเจ้า อิงลิช มาสทิฟฟ์ คงจะต้องคิดหนักทั้งเรื่องค่าอาหาร พื้นที่บ้านที่ต้องกว้างขวางพอ และการต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะสุนัข อิงลิช มาสทิฟฟ์ ต้องการการออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเจ้านายของมันอย่างสม่ำเสมอ และต้องการพื้นที่กว้างในการเกลือกกลิ้ง...เอ้ย..พักผ่อนอย่างสบายอยู่เหมือนกัน  

4. อลาสกัน มาลามิวท์

4. อลาสกัน มาลามิวท์

สุนัขตัวใหญ่ หน้าตาน่ารักสายพันธุ์นี้เป็นพี่เบิ้มนี้ โตเต็มที่จะมีน้ำหนักมากถึง 43 กิโลกรัม และมีส่วนสูงถึง 66 เซนติเมตร มีนิสัยขี้อ้อน เป็นมิตร และมีความเป็นตัวของตัวเองสูงเช่นเดียวกับไซบีเรียนฮัสกี้ แต่ว่าพี่ใหญ่พวกนี้เขาไม่ได้ไฮเปอร์ขนาดนั้น เขาไม่งับ แงะ แคะบ้าน หรือทะลึ่งตึงตัง แสนซนเท่าเจ้าไซบีเรียนฮัสกี้อย่างแน่นอน

สุนัขตัวใหญ่






{pic-alt} ลักษณะทั่วไป
อลาสกัน มาลามิวท์ เป็นสุนัขพันธุ์เก่าแก่ที่สุดพันธุ์หนึ่งที่ใช้สำหรับลากเลื่อนในเขตอาร์คติก มีลักษณะ อกลึก กล้ามเนื้อแข็งแรงมาก เมื่อยืนตรงมีความสง่างามหัวเชิดสูง สายตาแสดงความตื่นตัว อยากรู้อยากเห็น และเป็นมิตร กระโลกศีรษะกว้าง หูตั้งเป็นรูปสามเหลียม กระบอกปากเรียวเล็กน้อย ไม่แหลม ไม่ยาว แต่ก็ไม่สั้น ขนชั้นนอกหยาบหนา ขนชั้นในอ่อนนุ่ม มาลามิวท์มีหลายสี มาร์กกิ้งบนหน้ามีลักษณะเฉพาะ สีบนหัวลักษณะเหมือนสวมหมวก หน้าอาจสีขาวทั้หมดหรือลักษณะเหมือนสวมหน้ากากและ/หรือมีแถบสี หางเป็นพวงพอดีโค้งไปบนหลัง มีกระดูกใหญ่ ขาแข็งแรง เท้าเหยียบมั่นคง อกลึกไหล่มีพลัง มีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมกับการลากเลื่อน การวิ่งย่างก้าวได้มั่นคง สมดุล เหมือนไม่รู้จักเหนื่อย แต่ไม่เหมาะสมกับการลากเลื่อนเพื่อแข่งขันด้านความเร็ว แม้จะแข็งแรงอดทน

{pic-alt} ความเป็นมา


อลาสกัน มาลามิวท์เป็นสุนัขลากเลื่อน (Sled) แถบอาร์ติกที่เก่าแก่ที่สุดพันธุ์หนึ่ง ได้ตั้งชื่อตามชาวเผ่าพื้นเมืองอินนุยท์ (Innuit) ที่มีชื่อว่า มาลามิว (Mahlamuts) ผู้ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่แถบชายฝั่งโค เซบู เซาด์ (Kot - zebue sound) ในทางตะวันตกตอนบนอลาสก้า ระยะเวลาก่อนหน้าที่อลาสก้าจะตกมาอยู่ภายใต้การครอบครองของสหรัฐอเมริกา
{pic-alt}







{pic-alt} ลักษณะนิสัย

อลาสกัน มาลามิวท์ เป็นสุนัขที่มีอุปนิสัยขี้อ้อน เป็นมิตร ซื่อสัตย์ จงรักภักดี รักสันโดษและอาจดื้อบ้างในบางครั้ง โดยพวกเขามีความเป็นตัวของตัวเองสูง จึงอาจไม่ฟังคำสั่งได้ตามแต่กาลโอกาส เว้นเสียแต่ได้รับของรางวัล หรือสิ่งตอบแทนมาล่อใจ พวกเขาเป็นมิตรและมักอารมณ์ดี เมื่อได้อยู่ร่วมกับมนุษย์ ทว่าเจ้าของจำเป็นต้องฝึกให้เข้าสังคมมากพอ เพื่อทำให้พวกเขาสามารถอยู่ร่วมกับสุนัขตัวอื่นโดยปกติสุข

สหรับคนที่คิดว่าน้องหมาอลาสกัน มาลามิวท์ตัวใหญ่จะต้องดุร้าย ก้าวร้าว เหมาะกับเป็นน้องหมาอารักขา เลี้ยงไว้สำหรับเฝ้าบ้าน ป้องกันขโมย อาจจะต้องคิดใหม่ค่ะ เพราะเห็นพวกเขาตัวใหญ่อย่างนี้ กลับเป็นน้องหมาที่ต้องหารความรัก การดูแลเอาใจใส่สูง เป็นมิตรแม้แต่คนแปลกหน้า ไม่ค่อยเห่าพร่ำเพรื่อ ออกจะเคลื่อนไหวเชื่องช้า ชอบนอนอยู่กับเจ้าของ เอาอกเอาใจเจ้าของ แม้จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูงเช่นเดียวกับไซบีเรียน ฮัสกี้ก็ตาม แต่ทว่าพวกเขาไม่ไฮเปอร์ ทำลายบ้านเรือน ทะลึ่งตึงตัง แสบสันเท่ากับไซบีเรียนฮัสกี้ 

{pic-alt}












{pic-alt} การดูแล

อลาสก้า มาลามิว เป็นสุนัขที่ต้องได้รับการดูแลขนเป็นพิเศษ เนื่องจากพวกเขามีขนดก และหนา โดยการแปรงขนให้วันละ 5 นาที ถือว่าเหมาะที่สุด ทั้งนี้ อลาสก้า มาลามิวเพศผู้จะผลัดขน ปีละหนึ่งครั้ง ส่วนในเพศเมียปีละ 2 ครั้ง ทำให้ผู้เลี้ยงอาจประสบปัญหาบ้างในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พวกเขาเป็นสุนัขที่ไม่มีกลิ่นตัว จึงไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้บ่อยจนเกินไป
ด้านการออกกำลังกาย อย่างที่ได้กล่าวไปตอนต้นแล้วว่า อลาสก้า มาลามิว เป็นสุนัขที่มี พละกำลังมาก ทำให้เขาต้องการการออกกำลังกายสูง เพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกินทิ้งไป ผู้เลี้ยง จำเป็นต้องพาเขาไปออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 60-80 นาที โดยอาจเป็นการวิ่ง หรือการละเล่น อื่นใดที่ทำให้เขาได้ใช้พลังงานอย่างเต็มที่
สำหรับเรื่องโภชนาการ ก็เช่นเดียวกับสุนัขพันธุ์อื่น ผู้เลี้ยงควรให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป มากกว่าอาหารปรุงเอง เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วนมากกว่า ทั้งนี้ ในช่วง อายุ 5 เดือนขึ้นไป อลาสก้า มาลามิว จะโตเร็วกว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ ทำให้น้ำหนักตัวอาจเพิ่มอย่างรวดเร็ว จึงอาจมีปัญหาในการรับน้ำหนักอันเนื่องมาจากกระดูกที่โตช้ากว่านั่นเอง



{pic-alt} ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม

เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงที่กระฉับกระเฉงและมีเวลาว่างมากพอที่จะพาพวกเขาไปปลดปล่อยพลังงาน ที่มีอยู่อย่างล้นเหลือด้วยการพาไปออกกำลังกาย ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว อลาสกัน มาลามิวท์ตัวใหญ๋มากๆ ถ้าไม่ระมัดระวังเป็นอย่างดีอาจจะทำให้มีน้ำหนักเกินได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความสะอาดขน ควรแปรงขนเป็นประจำทุกวัน เพื่อจัดการขนที่ร่วง ระมัดระวังผิวที่เปราะบาง แพ้ และแห้งง่าย หากขนเปียกน้ำ หรืออาบน้ำให้แก่พวกเขา ต้องเป่าไม่แห้ง เนื่องจากขนที่หนาอาจทำให้เกิดการอับชื้นที่ผิวหนัง ทำให้เป็นเชื้อรา หรือเกิดการอักเสบที่ผิวหนังได้
















{pic-alt} ข้อควรจำ

อลาสกัน มาลามิวท์มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคสะโพกเคลื่อนได้เช่นเดียวกับไซบีเรียน ฮัสกี้ ควรพาพวกเขาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป หากเลี้ยงในประเทศเขตร้อนควรระวังอาการฮีตสโตรกที่จะเกิดขึ้นระหว่าการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังอาจเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง และ กระเพาะบิด ควรให้รับประทานอาหารแต่พอดี

{pic-alt}ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้





{pic-alt}

{pic-alt} มาตรฐานสายพันธุ์

ขนาดเพศผู้สูง 25 นิ้ว หนัก 85 ปอนด์ เพศเมียสูง 23 นิ้ว หนัก 25 ปอนด์
ศรีษะควรมีความกว้างอยู่ระหว่างหูทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ แคบลงทีละน้อยจนถึงดวงตา ควรมีสันนูนขึ้นเล็กน้อยระหว่างดวงตา เส้นบนสุดของกะโหลกศีรษะและเส้นขอบบนสุดของจมูกเป็นเส้นหักเล็กน้อยลาดลงมา
ฟันขากรรไกรบนและล่างกว้างและมีฟันใหญ่ ฟันหน้าสบกันแน่น ขากรรไกรบนและล่างไม่ยื่น
ปากริมฝีปากปิดสนิท
ตาสีน้ำตาล ยาวรีคล้ายผลอัลมอนด์ ตาสีดำจะเป็นที่นิยม
หูควรมีขนาดปานกลาง แต่จะเล็กเมื่อเทียบกับศีรษะ ส่วนครึ่งบนของหูเป็นรูปสามเหลี่ยม กลมเล็กน้อยที่ตรงปลาย เมื่อตั้งตรงหูจะชี้ไปข้างหน้าเล็กน้อย แต่เมื่อสุนัขทำงานบางครั้งหูจะม้วน หูที่อยู่ในตำแหน่งสูงเป็นข้อบกพร่อง
จมูกควรมีขนาดใหญ่และล่ำสัน ค่อย ๆ ลดความกว้างและลึกลงทีละน้อยจากจุดต่อกับกะโหลกศีรษะมายังปลายจมูก ปลายจมูกเป็นสีดำ
คอควรแข็งแรงและโค้งพอประมาณ
อกหน้าอกควรแข็งแรงและกว้าง มีโครงสร้างกระชับแต่ไม่สั้น หลังควรเป็นแนวเส้นตรงค่อย ๆ ลาดเอียงไปทางสะโพก บั้นเอวควรมีกล้ามเนื้อและไม่สั้นเกินไป เพราะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวที่ง่ายดายและเป็นจังหวะ
ลำตัวลำตัวใหญ่ หนา เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ความกว้างของลำตัวและส่วนสูงใกล้เคียงกันกำลังดี
เอว-
ขาหน้า

กระดูกขาหน้าใหญ่และมีมัดกล้ามเนื้อเป็นแนวเส้นตรงไปจนถึงข้อเท้าซึ่งควรสั้นและแข็งแรงและเกือบอยู่ในแนวดิ่ง เมื่อมองจากด้านข้างเท้าควรใหญ่และแน่น นิ้วเท้าเรียงชิดติดกันและงุ้มสวยงามอุ้งเท้าหนาและแข็งแรงเล็บเท้าสั้น ควรมีการป้องกันการเจริญเติบโตของขนระหว่างนิ้วเท้า
ขาหลัง

ขาหลังต้องกว้างและมีพละกำลัง มีมัดกล้ามเนื้อไปจนถึงต้นขาเข่าโค้งงอพอสมควร ข้อขาหลังกว้างและแข็งแรง โค้งงอพอประมาณและทอดลงได้รูปสวยงาม เมื่อมองจากด้านหลังกระดูกควรมีลักษณะโค้ง แต่ยืนและเคลื่อนที่อย่างแท้จริงในแนวเส้นตรงโดยการขับเคลื่อนของขาหน้า และไม่แนบชิดหรือกว้างเกินไป
หางมีขนาดพอเหมาะ มีขนปกคลุมดีและชูอยู่เหนือหลังเมื่อยังไม่ทำงาน ไม่มีลักษณะม้วนงอแน่น ขนที่หางต้องไม่สั้นมีลักษณะเหมือนสุนัขจิ้งจอกเป็นพุ่มกวัดแกว่งไปมา
ขน


ควรมีขนปกป้องลำตัวหยาบ หนา ไม่ยาวและไม่อ่อนนุ่ม ขนชั้นในดก หนาแน่น มีความยาว 1-2 นิ้ว มีน้ำมันหล่อและขนละเอียด ขนที่หยาบจะอยู่ด้านนอก มีแผงขนหนารอบคอ โดยทั่วไปขนค่อนข้างสั้น ขนจะยาวมากขึ้นบริเวณรอบบ่าและคอไล่ลงมาที่หลังและเหนือบริเวณส่วนท้าย รวมทั้งส่วนก้นจนถึงพวงหาง พันธุ์มาลามูทตามปกติจะมีขนสั้นกว่าและหนาแน่นน้อยกว่าเมื่อผลัดขนในช่วงระหว่างฤดูร้อน
สีขน



ตามปกติจะมีตั้งแต่สีเทาจาง สีเข้มข้นจนอยู่ในระดับดำปานกลางจนถึงสีดำ มักจะสีขาวอยู่ใต้ลำตัวส่วนของเท้า ขาและส่วนของหน้ากาก ควรเป็นลักษณะคล้ายหมวกแก๊ป และเหมือนหน้ากากอยู่บนใบหน้า สีขาวสดที่หน้ากากหรือรอบคอหรือจุดบนด้านหลังของคอเป็นสิ่งที่สวยงามและยอมรับได้ แต่จุดหรือแถบสีที่กระจายอยู่ทั่วตัวไม่เป็นที่นิยม เราควรแยกระหว่างสุนัขที่มีปกคลุมกับสุนัขที่มีแต้มสี สีเดียวทั้งตัวที่ยอมรับคือสีขาว