วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

9.เซนต์เบอร์นาร์ด

9.เซนต์เบอร์นาร์ด

สุนัขตัวใหญ่


พูดถึง สุนัขตัวใหญ่ จะขาดเจ้ายักษ์หน้าตามึน อ้วนท้วน อืดอาด รูปร่างสูงใหญ่ อย่างเจ้าเซนต์เบอร์นาร์ดนี้ไปได้อย่างไร ด้วยความที่ตัวโตและมีพละกำลังมาก จึงทำให้หลายคนอาจหวั่นๆถ้าต้องเผชิญหน้ากันแบบตัวต่อตัว แต่จะบอกให้นะเห็นอย่างนี้ ใจดีสุดๆโดยเฉพาะกับเด็ก นอกจากจะไม่ดุร้ายแล้วยังขี้กลัวอีกต่างหากเซนต์เบอร์นาร์ด นั้เป็นสุนัขที่มีขนาดใหญ่มากมีขนหนา  มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่  64-120 กิโลกรัม หรืออาจจะมากกว่านั้น  มีความสูงจากหัวไหล่มายังพื้น 70 – 90 เซนติเมตร ขนมีลักษณะยาวเรียบหน้า  หยาบ และจะหนามากบริเวณรอบๆคอลงมาที่ขา  ขนของเขาจะมีสีน้ำตาลแดง  สีเทา  สะดำ  และจะมีสีดำที่เบ้าตาทั้งสองข้าง และบริเวณหู  หางมีความยาวและตก นัยต์ตาจะมีสีดำ  สีฟ้า และสีน้ำตาล
                   มีนิสัยร่าเริง  ใจดี จนได้รับเรียกว่านักบุญ  สามารถที่จะหาคนที่ถูกหิมะหรือว่าหายในพายุหิมะได้  โดยจะนำกระป๋องผูกที่คอมันแล้วเอาไปให้คนที่มันพบกินน้ำ และขอความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ  เป็นสุนัขที่มีจมูกไว  เมื่อก่อนนั้นสุนัขพันธุ์นี้มีความอ่อนแอ มีโรคภัยใข้เจ็บได้ง่ายไม่เหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะว่ามีการผสมพันธุ์และปรับปรุงให้มีความเด่นมากขึ้นในปี 1865 นั้นเอง
                ในเมื่อก่อนนั้น  เซนต์เบอร์นาร์ด  มีประวัติศาสตรที่อยู่รวมกับสุนัข เกรทเทอร์ สวิสส์ เมาน์เทนด๊อก  นำไปใช้ในงานในไรในฟาร์มต่าง  ไว้ต้อนเกะหรือว่าสัตว์อื่นๆ  สามารถที่จะใช้ช่วยในการล่าสัตว์และยังช่วยผู้ประสบภัยจากหิมะได้ด้วย  สุนัขพันธุ์ถือได้ว่าสืบสายพันธุ์มาจาก molosser  โดยการมาในเทือกเขาแอลป์จากชาวโรมันโบราณและเซนต์เบอร์นาร์เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ Molossoid
                มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ว่า  เซนต์เบอร์นาร์ดได้เดินทางมากับพระนักบวชที่ Great St Bernard Pass ในปี 1707 และได้มีภาพวากจิตกรที่ฝาพนังไว้เป็นหลังฐานในตอนนั้น





การเลี้ยงสุนัขพันธุ์เซนต์ เบอร์นาร์ด

  1. การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุนัขพันธุ์ใหญ่ แต่ต้องมีขอบเขตไม่มากหรือน้อยเกินไป เหตุผลเนื่องจากกระดูกที่กำลังเติบโตของลูกสุนัขยังอ่อน ไม่สามารถรองรับการพัฒนาของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน จึงอาจเกิดปัญหาของกระดูกอ่อนหรือบิดได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงทุกคนควรระวังถึงน้ำหนักของลูกสุนัข เป็นหลัก ไม่ควรให้สุนัขอ้วนแต่เด็ก ควรให้ลูกสุนัขมีอายุ 1 ปีอย่างต่ำก่อนจึงเริ่มทำน้ำหนักได้ การออกกำลังที่หักโหมอาจทำให้ลูกสุนัขบาดเจ็บ เพราะฉะนั้นวิธีที่จะดูว่าลูกสุนัขออกกำลังกายเพียงพอหรือไม่นั้นให้ดูจากการปล่อยลูกสุนัขเล่นโดยธรรมชาติ เพราะตัวลูกสุนัขเองจะรู้ว่าเมื่อเค้าเหนื่อยเค้าควร จะหยุดเล่น แต่ถ้าลูกสุนัขของคุณขี้เกียจก็ควรพาเค้าเดินหรือหาบอลมาดึงดูดความสนใจเค้าให้สนุกกับการออกกำลังกายก็ได้
     
  2. อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงลูกสุนัขควรคำนึงถึงสารอาหาร โดยรวมไม่ใช่เน้นที่โปรตีนอย่างเดียว อาหารที่ใช้ควรมีส่วนประกอบของ Glucosamine ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในเรื่องไขข้อกระดูก สารชนิดนี้จะไปช่วยสร้างน้ำหล่อลื่นตามข้อกระดูกโดยเฉพาะสุนัขที่เป็นโรคข้อต่อสะโพกสารชนิดนี้ จะลดการเสียดสีในไขข้อกระดูกได้ อาหารที่ดีไม่จำเป็นต้องราคาแพงเสมอไปแต่ก็ไม่ได้หมายถึงอาหารถูกจะดีทุกยี่ห้อ หรือถ้าจะลองใช้อาหารควรลองอย่างน้อย 6 เดือนถึงจะพิสูจน์ได้ว่าอาหารนั้นดีสำหรับสุนัขของท่าน ควรให้อาหารวันละ 4 ครั้ง ลูกสุนัขอายุ 4 เดือน แล้วลดเหลือ 2 มื้อตั้งแต่ 5 เดือนถึง 1 ปี ต่อจากนั้นขึ้นอยู่กับความสะดวกบางท่านอาจลดเหลือมื้อเดียวต่อวันก็ทำได้
     
  3. การฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม ควรเริ่มตั้งแต่สุนัขอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะลูกสุนัขวัยนี้เริ่มที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆได้เร็วและสนใจสิ่งใหม่ๆรอบๆตัว








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น